ข้อมูลโครงการวิจัย

โครงการ สุขภาพและการทำงานของแรงงานต่างด้าวผู้หญิงหลังการระบาดของโควิด-19: อำนาจทับซ้อนและการเปรียบเทียบในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย
คณะผู้วิจัย
หัวหน้าโครงการ
Rounded avatar  สรัญญา สุจริตพงศ์
นักวิจัย
Rounded avatar  Sharuna Verghis
Rounded avatar  Carmen Logie
Rounded avatar  Koh Sin Yee
Rounded avatar  Yap Kwong Hsia
Rounded avatar  Sriprapha Petcharamesree, Lesley Gittings
ยุทธศาสตร์ ที่ตรงกับโครงการวิจัย
ระยะเวลา
กันยายน 2566 ถึง สิงหาคม 2567
จำนวนวัน : 0 วัน
สถานะงานวิจัย
อยู่ระหว่างดำเนินการ
อีเมล/เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อ
: sarunya.suj@mahidol.ac.th
เกี่ยวกับโครงการ

วัตถุประสงค์
  • 1. เพื่อระบุถึงการเปลี่ยนเเปลงบทบาททางเพศที่เกิดกับเเรงงานต่างด้าวผู้หญิงเเละผลที่เกิดต่อสุขภาพเเละการทำงานเเละเหตุการณ์เเพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลต่อบทบาททางเพศ (gender role) ขนบวิถีทางเพศ (gender norms) เเละความสัมพันธ์เชิงบทบาททางเพศ (gender relation) อย่างไร   
  • 2. เพื่อทำความเข้าใจลักษณะของความเสี่ยง ช็อค ความเปราะบาง (vulnerability) เเละการฟื้นคืนตัว (resilience) ที่เเรงงานต่างด้าวผู้หญิงได้พบที่เป็นผลกระทบเเละเกี่ยวเนื่องจากการเเพร่ระบาดของโควิด-19 
  • 3. เพื่อทำความเข้าใจว่าพลวัตรทางเพศ (gender dinamics) ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงทรัพยากรที่ช่วยให้เกิดการรับมือเเละปรับตัวกับเเรงกดดัน (stressor) ที่เกิดจากการเเพร่ระบาดของโควิด-19 ได้อย่างไร เเละนำไปใช้ในการออกเเบบนโยบายเเละมาตรการเเทรกเเซงที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนเเปลงบทบาททางเพศ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
  • 1. เสริมพลัง (empowerment) ให้กับเเรงงานต่างด้าวผู้หญิงโดยการดึงให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเเละการสร้างองค์ความรู้ของโครงการวิจัยนี้   
  • 2. เพิ่มความตระหนักของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในด้านเพศภาวะที่เกิดขึ้นกับเเรงงานต่างด้าวผู้หญิงที่เกี่ยวกับการทำงานเเละสุขภาพ ซึ่งรวมทั้งที่เป็นผลจากการระบาดของโรคโควิด 19   
  • 3. สร้างหลักฐานงานวิจัยที่ได้จากการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเเบบผสมผสานที่จะถูกนำไปใช้ในการกำหนดนโยบายเพื่อให้ผู้หญิงมีสุขภาพเเละชีวิตการทำงานที่ดี   
  • 4. เสริมสร้างความเข้มเเข็งของเครือข่ายระหว่างองค์กรที่ทำงานช่วยเหลือเเรงงานต่างด้าวเเละผู้ลี้ภัยที่เป็นผู้หญิง เเละชุมชนเเรงงานต่างด้าวเเละผู้ลี้ภัยเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะร่วมกัน   5. สร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาให้เป็นเเหล่งเรียนรู้ด้านการย้ายถิ่นเเละสุขภาพของเเรงงานต่างด้าว ให้เกิดการศึกษา การทำวิจัย การวางนโยบาย เเละนำไปสู่การปฏิบัติ
อยู่ในกลุ่มวิจัยหลัก (Cluster)
เพศวิถี เพศภาวะ อนามัยเจริญพันธุ์ และ เอชไอวี/เอดส์

โครงการอยู่ในกลุ่มวิจัยรอง (Cluster)
ประชากร สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ
การย้ายถิ่น ความเป็นเมือง และแรงงาน

SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการวิจัย
Good Health and Well-being

SDGs อื่นๆ ที่สอดคล้องกับกิจกรรม
Gender Equality
Decent Work and Economic Growth
Reduced Inequalities

www.ipsr.mahidol.ac.th - Revised: 28 สิงหาคม 2567
Copyright ©สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยา ลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73 170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333 Web master : prwww@mahidol.ac.th
Admin