ข้อมูลโครงการวิจัย

โครงการหนุนเสริมการขับเคลื่อนงาน Thailand Zero Dropout และพัฒนากลไกและระบบฐานข้อมูลเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่
คณะผู้วิจัย
หัวหน้าโครงการ
Rounded avatar  ปิยวัฒน์ เกตุวงศา
นักวิจัย
Rounded avatar  บุรเทพ โชคธนานุกูล
Rounded avatar  ปัญญา ชูเลิศ
Rounded avatar  อัญญารัตน์ คณะวาปี
Rounded avatar  ชุติมา อยู่สมบูรณ์
ยุทธศาสตร์ ที่ตรงกับโครงการวิจัย
ระยะเวลา
สิงหาคม 2567 ถึง เมษายน 2568
สถานะงานวิจัย
อยู่ระหว่างดำเนินการ
อีเมล/เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อ
:
เกี่ยวกับโครงการ

วัตถุประสงค์
  • 1. เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้และสนับสนุนให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบ Thailand Zero Dropout รวมถึง Core team จังหวัด คณะกรรมการ CMS ระดับจังหวัดและระดับพื้นที่ และ CM ของ 25 จังหวัดนำร่อง ให้สามารถติดตาม ค้นหา และส่งต่อความช่วยเหลือ เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาหรือการเรียนรู้ ตามบทบาทหรือความรับผิดชอบของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • 2. เพื่อพัฒนาให้เกิดเครือข่ายการทำงาน Thailand Zero Dropout ระดับภูมิภาค ที่สามารถปฏิบัติตามข้อ 1. และมีศักยภาพสามารถยกระดับเป็นเครือข่ายพี่เลี้ยงให้กับเครือข่ายปฏิบัติการอื่นในการทำงานระยะต่อไป
  • 3. เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ หนุนเสริมและติดตามการดำเนินงานของคณะทำงาน 16 จังหวัดภายใต้ครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับทิศทางการทำงานของ กสศ. และบริบทของพื้นที่ เกิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศของจังหวัด เกิดชุดความรู้และระบบฐานข้อมูลจังหวัด เพื่อสนับสนุนแผนบูรณาการความร่วมมือเพื่อสร้างความเสมอภาคทางการศึกษาของจังหวัด ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างจังหวัด 
  • 4. เพื่อสนับสนุนและติดตามให้การดำเนินงานของคณะทำงานที่ปฏิบัติงานตามกรอบ Thailand Zero Dropout และตามกรอบการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนด
  • 5. เพื่อสรุปและสังเคราะห์ชุดข้อมูล องค์ความรู้ และข้อเสนอเชิงนโยบายทั้งระดับพื้นที่และระดับชาติจากผลการดำเนินงานของคณะทำงาน 16 จังหวัดภายใต้โครงการจัดการศึกษาเชิงพื้นที่เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และ 25 จังหวัดภายใต้การดำเนินงานตามนโยบาย Thailand Zero Dropout เพื่อเห็นถึงภาพกรอบใหญ่ของการทำงานและส่วนที่มีความแตกต่างของแต่ละพื้นที่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
อยู่ในกลุ่มวิจัยหลัก (Cluster)
ประชากร สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ

โครงการอยู่ในกลุ่มวิจัยรอง (Cluster)
SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการวิจัย
Quality Education

SDGs อื่นๆ ที่สอดคล้องกับกิจกรรม
www.ipsr.mahidol.ac.th - Revised: 28 สิงหาคม 2567
Copyright ©สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยา ลัยมหิดล
ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73 170
โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333 Web master : prwww@mahidol.ac.th
Admin