ข้อมูลโครงการวิจัย

โครงการศึกษาสถานการณ์การรังแกในเยาวชนไทยและการพัฒนาโปรแกรมออนไลน์เพื่อสร้างเสริมความแข็งแกร่งทางจิตใจของเยาวชนและป้องกันปัญหาการรังแกในโรงเรียน
คณะผู้วิจัย
หัวหน้าโครงการ
Rounded avatar  สุชาดา ทวีสิทธิ์
นักวิจัย
Rounded avatar  นพพร ว่องสิริมาศ
ยุทธศาสตร์ ที่ตรงกับโครงการวิจัย
1. Research and Innovation Sustainability
ระยะเวลา
มีนาคม 2567 ถึง มิถุนายน 2568
สถานะงานวิจัย
อยู่ระหว่างดำเนินการ
อีเมล/เบอร์โทรศัพท์ ติดต่อ
: suchadean@gmail.com
เกี่ยวกับโครงการ

วัตถุประสงค์
  • ระยะที่ 1
  • 1. เพื่อศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงและพฤติกรรมรังแกของวัยรุ่น (นักเรียนระดับมัธยมศึกษา อายุ 13-17 ปี) ในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนขยายโอกาสในชายแดนของประเทศไทย
  • 2. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญที่กำหนดความเสี่ยงและพฤติกรรมรังแกของวัยรุ่น โดยคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้ (ความหลากหลายทางชาติพันธุ์, ศาสนา, ชนชั้น, การแสดงออกทางเพศภาวะ, พฤติกรรมการใช้สื่อ, พฤติกรรมการใช้สารเสพติด, การมีภาวะวิกฤตในชีวิต, ระดับปัญหาสุขภาพจิต, ระดับความแข็งแกร่งของจิตใจ, ระดับการมีทัศนคติเปิดกว้างอยู่ร่วมกับความหลากหลายได้)
  • ระยะที่ 2
  • 3. เพื่อพัฒนาเนื้อหาสำหรับจัดทำสื่อออนไลน์ต้นแบบที่เป็น web application มีเนื้อหาครอบคลุม
  • 3.1 ระบบการคัดกรองนักเรียนที่มีความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการรังแก
  • 3.2 ระบบการป้องกัน และสนับสนุนช่วยเหลือนักเรียนวัยรุ่นให้ห่างไกลจากความเสี่ยงต่อพฤติกรรมการรังแกทั้งในฐานะ “ผู้รังแก” และ “ผู้ถูกรังแก”
  • 4. เพื่อนำสื่อต้นแบบไปทดลองใช้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครและโรงเรียนขยายโอกาสชายแดนที่เก็บข้อมูล และทำการประเมินผล
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    • 1. ด้านวิชาการ 
    •    ระบุ ได้เครื่องมือวิจัยเรื่องการรังแก ที่เหมาะสมกับบริบทวัยรุ่นทุกกลุ่ม ฐานข้อมูลด้านปัจจัยทำนายการรังแกและความแข็งแกร่งทางจิตใจ สื่อวิดีโอ ต้นแบบ Platform ออนไลน์สำหรับโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งทางจิตใจและป้องกันปัญหาการรังแกในวัยรุ่น และผลงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ 2 เรื่อง ซึ่งจะเป็นฐานองค์ความรู้ในเรื่องการป้องกันปัญหาการรังแกและส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจต่อไป
    • 2. ด้านสังคม ทางด้านสาธารณะ
    •    ระบุ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จะได้ต้นแบบ Platform ออนไลน์สำหรับโปรแกรมส่งเสริมความแข็งแกร่งทางจิตใจและป้องกันปัญหาการรังแกในวัยรุ่น ที่จะช่วยลดปัญหาความรุนแรงและปัญหาด้านสุขภาพจิตในวัยรุ่นได้ 
    • 3. ด้านนโยบาย 
    •    ระบุ ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับมาตรการการป้องกันปัญหาการรังแกและการส่งเสริมความแข็งแกร่งทางจิตใจในวัยรุ่นให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงสาธารณสุข
    • 4. ด้านเศรษฐกิจ 
    •    ระบุ อาจช่วยลดค่าใช้จ่ายจากเยาวชนที่มีบาดเจ็บจากการถูกรังแก และปัญหาด้านสุขภาพจิตได้ต่อไปในอนาคต


    อยู่ในกลุ่มวิจัยหลัก (Cluster)
    เพศวิถี เพศภาวะ อนามัยเจริญพันธุ์ และ เอชไอวี/เอดส์

    โครงการอยู่ในกลุ่มวิจัยรอง (Cluster)
    SDGs หลักที่สอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการวิจัย
    Good Health and Well-being

    SDGs อื่นๆ ที่สอดคล้องกับกิจกรรม
    Gender Equality
    Peace, Justice and Strong Institutions
    Partnerships for the Goals

    Links ข้อมูลเพิ่มเติม
    www.ipsr.mahidol.ac.th - Revised: 28 สิงหาคม 2567
    Copyright ©สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยา ลัยมหิดล
    ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73 170
    โทรศัพท์ 02-441-0201-4 โทรสาร 02-441-9333 Web master : prwww@mahidol.ac.th
    Admin